พุยพุย

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

วิธีการสอน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


พื้นฐานการสอนบวก ลบเลขให้กับเด็กอนุบาล
แน่นอนว่าการสอนเด็กเป็นเรื่องยาก ยิ่งเป็นวิชาที่เนื้อหาแน่นๆคนสอนหนักใจเลยที่เดียว วันนี้เรามีวิธีสอนเด็กอุบาลบวกลบเลยแบบง่ายๆ มาให้ดู
เริ่มจากการตั้งโจทย์ เราเอา เลขที่บวกกันแล้วไม่เกิน 10 ก่อน 
         6 + 4 =  ?
จะสอนยังไงดี?
วิธีการคือ
1. ให้เด็กเอาเลขที่มีค่ามากไว้ในใจ
2. ชูมือขึ้นมาให้เท่ากับจำนวนที่บวก
3. นับเลขต่อจากเลขที่อยู่ในใจ
เผื่อยังไม่เห็นภาพ ลอง  เอา 6 ไว้ในใจ ชูมือขึ้นมา 4 นิ้ว  แล้วเริิ่มนับต่อจากเลขที่อยู่ในใจ 6 แล้ว 7 8 9 10  เท่านี้ก็ได้คำตอบแล้ว
การลบ
6 - 4 
วิธีการคือ 
1. กำมือขึ้นมา
2. นับเลขจากเลขน้อยไปเลขมาก 
เช่น กำมือขึ้นมาแล้ว นับต่อจาก 4  เป็น 5  6  ก็จะมีนิ้วบนมือเราเป็น 2 
เท่านี้การสอนวิชาคณิตสาตร์ก็ไม่ยากอีกต่อไป
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇



สรุปบทความ



เด็กๆควรใช้นิ้วมือในการนับเลขหรือไม่

         การนับเลขด้วยนิ้วมือเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องเคยใช้ แต่เมื่อโตขึ้นทำไมถึงไม่ให้ใช่  หลายคนมองว่าการที่เด็กโตพอที่จะคิดในใจได้แล้ว จึงไม่ต้องใช้นิ้วเมื่ออีกต่อไป แต่เคยคิดในทางกลับกันหรือไม่ หากเด็กที่ยังนับเลขไม่คล่องการนับ บวกลบเลขหลักสิบยังไม่ได้ แล้วคุณให้เด็กคนนั้นเลิกใช้นิ้วในการนับ ทั้งที่มันเป็นสื่อที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้อีกทั้งใกล้ตัว จะเกิดอะไร แน่นอนเด็กจะเดาสุ่มตัวเลขขึ้นมาเพื่อตอบ และเมื่อไม่ถูก เด็กคนนั้นจะกลายเป็นเด็กที่ไม่ชอบศาสตร์แห่งตัวเลขเลย คุณคิดถูกแล้วหรือ ลองอ่านบทความนี้ดู แล้วคิดจะเปลื่ยนความคิด 
          การวิจัยพบว่า การที่ไม่ให้เด็กใช้นิ้วมือในการนับ ในขณะที่เด็กอยู่ในวัยที่สามารถจะนับได้ ทำให้สมองมีความล่าช้าทางคณิตศาสตร์ได้ นิ้วมือเป็นเหมือนเครื่องมือที่มองเห็นได้ และมีประโยชน์มากที่สุดที่จะส่งผลต่อเมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ด้วย เราจะเห็นความสำคัญ และความจำเป็นของการใช้นิ้วมือได้ชัดเจนจากนักดนตรี หรือผู้ที่ใช้ความสามารถในการใช้นิ้วมือ ว่า ส่วนใหญ่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์สูงมากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนรู้ทางด้านการเล่นเครื่องดนตรี
          จะเห็นได้ว่างานวิจัยกล่าวถึงการใช้นิ้วมือในการนับเลขของเด็กไม่ได้มีผลเสียเลย แต่ในทางกลับกัน เด็กที่ถูกไม่ให้ใช้นิ้วนับเลขต่างหากที่ต้องเจอกับปัญหา รูอย่างนี้ก็เปลี่ยนวิธีคิดใหม่กันได้แล้ว โดยเฉพาะครูปฐมวัยนะคะ เพราะคุณคือจุดเริ่มต้นของการศึกษา
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 
👉👉👉เด็กๆ ควรใช้นิ้วมือในการนับเลขหรือไม่👈👈👈




วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 18

03/05/60

นำเสนอสื่อการสอน


ชื่อสื่อ Math Box



วิธีเล่น 1. ครูหรือผู้เล่นตั้งโจทย์
           2. แทนค่าตัวเลขด้วยไม้

สื่อชิ้นนี้ส่งเสริมพัฒนาการเด็กดังนี้
ด้านร่างกาย 👉เด็กได้มีการใช้กล้ามเนื้อในการนับการจับจับสื่อ
ด้านอารมณ์ จิตใจ 👉เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเมื่อตอบถูก
ด้านสังคม 👉 มีการพูดคุยกับผู้ร่วมเล่น
ด้านสติปัญญา 👉ได้พัฒนาการคิด การบวก ลบ คูณ หาร 
ประเมิน 
ผู้สอน : ให้คำแนะนำและปรับแก้ในส่วนที่ยังไม่เหมาะสม 
ผู้เรียน : เข้าใจในสิ่งที่ผู้สอนให้คำแนะนำ




วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17

26/04/60


สอบสอน 





ประเมิน
ผู้สอน : พูดให้ข้อคิดและเสริมความรู้ให้เสมอ ในส่วนที่ผู้เรียนยังมองไม่ออกก็พูดเสริม พูดแนะนำ 
ผู้เรียน : ได้รับความรู้มากมาย จากการสอบสอนในครั้งนี้มีหลายสิ่งที่เรายังคิดว่ามันไม่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์แต่มันกลับเกี่ยว ด้วยกับพูดของครู
  

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

21/04/60


นักศึกษาร่วมกันทำงานกลุ่มของตนจนเสร็จ
ผู้สอน : ค่อยสอบสอบถึงปัญหาเสมอ และบอกแนวทางในการปฏิบัติ 
ผู้เรียน : ปฏิบัติตามข้อตกลงในการทำงานเป็นอย่างดีจนงานเสร็จ
ผู้ร่วมเรียน : ช่วยเหลือกันอยู่เสมอ ค่อยแสดงความแสดงความคิดเห็น 




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

19/04/60

                  การเขียนแผนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
ในการเขียนแผนสำหรับเด็กปฐมวัยนอกจากต้องมี 6 กิจกรรมหลักแล้ว ต้องครอบคลุมรายวิชาต่างโดยผ่านการเล่น ไม่เน้นวิชาการสุดมากเกินวัย ในส่วนของวิชาคณิตศาสตร์ ต้องจัดกิจกรรมที่เด็กจะได้เรียนรู้เช่น 
💗 วิธีการนับเลข บอกจำนวนได้ และสามารถแทนค่าเป็นตัวเลขได้ 

💗 สามารถแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ได้  วิธีการคือ 👉 ต้องกำหนดเกณฑ์ขึ้นมา 1 เกณฑ์ ที่เข้าใจง่าย เช่น มีเด็กนักเรียนอยู่ในห้องเรียน เราก็ตั้งเกณฑ์ ว่า นักเรียนที่มัดผม หรือ นักเรียนที่ส่วมเสื้อแขนยาว เท่านี้ก็จะได้จำนวนย่อยของเด็กจากกลุ่มใหญ่แล้ว 

💗 สามารถรวมกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ได้ วิธีการคือ 👉 การสร้างเกณฑ์ขึ้นมา 1 เกณฑ์นั้น จะเหมาะกับเด็กอนุบาล1มากกว่า ถ้าเป็นเด็กอนุบาล2 ควรเป็น 2 เกณฑ์หรือมากว่า เช่น นักเรียนที่มัดผมและไม่ได้มัดผม 

 💗 สามารถเปรียบเทียบจำนวนได้ วิธีการคือ จากข้อข้างต้น 👉 จะได้เด็กเป็นกลุ่มต่างๆ ให้เด็ก (เด็กๆในที่นี้เราอาจใช้ป้ายชื่อแทนตัวเด็ก) ดึงป้ายชื่อออกเป็น 1:1 เมื่อกลุ่มใดหมดก่อนแสดงว่าน้อยกว่า 
🚕คำว่า   มากกว่า น้อยกว่า ใช้กับ การเปรียบเทียบที่เป็น 2 กลุ่ม 🚕
🚌🚌คำว่า   มากที่สุด น้อยที่สุด ใช้กับ การเปรียบเทียบที่เป็น 3 กลุ่มหรือมากว่า🚌🚌
ประเมิน
ผู้สอน : ให้ความรู้อยากเต็มประสิทธิภาพ เสริมความรู้ให้อยู่เสอม สอบถามความเข้าใจของผู้เรียน
ผู้เรียน : มีสมาธิในการเรียนมากขึ้น มีการทบทวนความรู้ที่ได้เรียนไป


วันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

05/04/60

เกมการศึกษา 
กิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น
- เกมจับคู่
          💗  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน 
          💗 จับคู่ภาพกับเงา
 - เกมภาพตัดต่อ
 - เกมจัดหมวดหมู่
 - เกมวางภาพต่อปลาย (Domino)
 - เกมเรียงลำดับ
 - เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto) 
 - เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
 -  เกมพื้นฐานการบวก
ประเมิน
ครูผู้สอน : สามารถถ่ายทอดความรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบสูง 
ผู้เรียน : ได้รับความรู้และเข้าใจในการสอน และงานที่ได้รับมอบหมาย